วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนและสังคม


ที่มา : http://trangis.com/kruuza/6/473_d2.jpg


1.   ความหมายและความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
          กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน หมายถึง ขั้นตอนหรือลำดับการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริม ความปลอดภัยในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้ใช้กรอบแนวความคิดของ โครงการที่เรียกว่า “ชุมชนปลอดภัย (Safety community)” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ ใช้ต่อสู้กับปัญหาอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีหลักการดำเนินงานที่ มุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชุมชน เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและลดพฤติกรรมเสี่ยงระดับบุคคล

ที่มา : http://www.cwu.edu/~pacinij/communitysafetypic.jpg

          เนื่องจากปัญหาความไม่ปลอดภัย เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้บุคคลเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของเยาวชน หรือปัญหาอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมประมาท ขาดความระมัดระวัง การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนจึงมีความสำคัญการลดปัญหาความไม่ปลอดภัย ต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่สงบสุข ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างเสริมความปลอดภัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการดำเนิน งานที่เป็นลำดับขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นพื้นฐาน ย่อมทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการจัดการเรื่องความปลอดภัยในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นทุกชุมชนควรสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนของตนเองให้เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนให้มีสุขภาพดี ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยใช้กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันของชุมชนเป็นพื้นฐาน

2.   หลักการดำเนินการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
      2.1.   ชุมชนต้องดำเนินการป้องกันภัย อันตรายต่างๆ ที่เกิดจากความสนใจหรือปัญหาของชุมชน เช่น การป้องกันภัยจากสารเสพติด การป้องกันภัยจากอัคคีภัย การป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายโดยอาจมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันต่างๆ ในระดับชุมชน เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
      2.2.  ชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัย และปัญหาการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
      2.3.  ชุมชนต้องมีระบบการเฝ้าระวังภัยอันตรายของชุมชน ที่จะนำไปสู่การประเมินขนาดของปัญหาสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสี่ยงของความไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
      2.4.  ชุมชนต้องมีระบบการสำรวจความ ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเกิดอันตราย เพื่อที่จะดำเนินการวางแผนแก้ไขต่อไป

ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTtoswHLadIfsrXFhbVFs7qsTpQO1k2eUj-fJuuv8nDCTuJzmtixg

      2.5.  ชุมชนต้องมีการต่อต้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้แก่ ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยง และสิ่งแวดล้อมอันตราย
      2.6.  ชุมชนต้องมีระบบการฝึกอบรมการสอน หรือเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน ในเรื่องของการสร้างเสริมความปลอดภัย และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
      2.7.  ชุมชนต้องมีระบบการเตรียมความพร้อม ในการรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน เช่น การเกิดอัคคีภัย การเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีการจัดระบบการอพยพผู้คนและแจ้งข่าวสาร มีการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีประสิทธิภาพ
      2.8.  ชุมชนต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานที่จัดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง โดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม
      2.9.  ชุมชนต้องมีการรวบรวมความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง เผยแพร่สู่สังคมอื่นๆ เพื่อขยายผลในการสร้างเสริมความปลอดภัยในระดับประเทศชาติต่อไป

3.   การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
          การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมสร้าง เสริมความปลอดภัยในชุมชนที่ดำเนินการไปแล้วนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด และมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อจะได้นำไปพัฒนาการจัดกิจกรรม สร้างเสริมความปลอดภัยอื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นของชุมชนต่อไป ซึ่งกระบวนการประเมินผลจะต้องประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำตรงกับความเป็นจริง โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล สามารถกระทำได้ทั้งในระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดโครงการ ดังนี้
      3.1.  การประเมินการสร้างเสริมความปลอดภัยก่อนการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินในช่วงระยะแรกของโครงการ เช่น การสำรวจความต้องการด้านความปลอดภัยของประชาชนการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้ กำลังคนและเทคนิควิธี
      3.2.  การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างที่มีการดำเนินโครงการไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าโครงการได้ดำเนินไปตามกระบวนการขั้นตอนที่ว่างแผนไว้หรือไม่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการได้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพจนสิ้นสุดโครงการ

      3.3.  การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยหลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลที่กระทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการแล้ว โดยมีการนำผลการศึกษาของการประเมินผลในขั้นต่างๆ ตั้งแต่การประเมินก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และหลักการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์และแปลผลร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการจัดทำโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นๆ บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้หรือไม่



4.  คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน
          การสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ คือ มีการวางแผนการปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล ซึ่งจะให้คุณค่าต่อตนเองและต่อคนในชุมชน ดังนี้
      4.1.  ส่งเสริมสุขภาพกาย เมื่อมนุษย์มีความปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ เพราะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี เมื่อมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ชุมชนก็จะเข้มแข็ง เพราะคนในชุมชนมีสุขภาพดี


ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/data/content/28514/cms/thaihealth_c_ciknqrsuwx46.jpg

      4.2.  ส่งเสริมสุขภาพจิต เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย ไม่มีโจรผู้ร้าย คนขายยาบ้า หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก็มีความสุข นั่นคือ มีสุขภาพจิตที่ดี


ที่มา : http://2.bp.blogspot.com/-OzpqDi-G7HY/UP09XKO8KDI/AAAAAAAAALA/aHjDOuHj2eI/s400/w_22.jpg

      4.3.  ส่งเสริมเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีการเจ็บป่วย ไม่มีโจรผู้ร้าย ก็จะทำให้ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล และไม่ถูกโจรผู้ร้ายโจรกรรมหรือปล้น เงินทองไม่รั่วไหล ก็จะทำให้เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวดี และมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต
      4.4.  สังคมเข้มแข็ง เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย คนในชุมชนมีสุขภาพดี ย่อมทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง นั่นคือ สังคมก็เข้มแข็งไปด้วย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัยสำหรับทุกคน

จัดทำโดย
1. นางสาวจันทิมา หิ่งห้อย         เลขที่ 1
2. นางสาวนันท์นภัส วีระกุล       เลขที่ 5
3. นายณัชพล ศรีสังข์               เลขที่ 11
4. นายปราณนต์ แววรัตน์          เลขที่ 15
5. นายพัสกร จันทรวงทอง         เลขที่ 19
6. นายภาสกร ส่งศรีบุญสิทธิ์       เลขที่ 23
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

แหล่งอ้างอิง
กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน(2554). แหล่งที่มา : http://panidapang
             prakhon1.blogspot.com/2011/11/blog-post.html. วันที่สืบค้น 25
             พฤศจิกายน 2558.
บทที่ 6 การสร้างเสริมความปลอดภัยให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน. (ม.ป.) แหล่งที่มา
            : http://trangis.com/kruuza/6_1.html. วันที่สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2558.
วริทธิ์ อนันตสิทธิพงศ์. (ม.ป.) หน่วยที่ 2 การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน. แหล่งที่มา
            : https://sites.google.com/a/ckw.ac.th/kurwarit/hnwy-thi-2. วันที่สืบค้น 
            25 พฤศจิกายน 2558.
สุพจน์ อนุตรพงค์. (ม.ป.) 6.2 กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน. แหล่งที่มา
            : http://www.vimanloy.com/term2/lesson6_2.php. วันที่สืบค้น 25
            พฤศจิกายน 2558.

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปัญหาวัยรุ่น

1. เพื่อน



     1. ไม่มีเพื่อน

               สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีปัญหากับเพื่อน มักเกิดจากพื้นฐานไม่ดีมาก่อน ได้แก่
               1.1. ปรับตัวยาก เอาแต่ใจ ไม่เข้าใจจิตใจคนอื่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางความคิด
               1.2. ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก กลัวทำผิด กลัวคนอื่นว่า มักจะมีทักษะในด้านต่างๆไม่มาก
               1.3. เรียนไม่เก่ง
               1.4. ด้อยโอกาส ขาดคนรัก ขาดคนสนใจ ถูกละทิ้ง หรือถูกทำร้าย ขาดคนดูแลสั่งสอน
               1.5. มีปัญหาทางอารมณ์ ซึมเศร้า วิตกกังวล
               1.6. มีปัญหาที่บ้าน พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อย หรือเข้ากับคนในบ้านไม่ได้ดี
               1.7. ขาดทักษะการเข้าสังคม เช่น กีฬา ดนตรี การทำกิจกรรม ไม่เข้าใจจิตใจผู้อื่น



     2. คบเพื่อนไม่ดี

               ปัญหาที่เกิดตามมา ได้แก่
               2.1. วัยรุ่นที่ขาดคนสนใจ ขาดความอบอุ่นก็จะหันไปหาเพื่อนมากขึ้น ติดเพื่อนและไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ต่อต้านเพิ่มขึ้นเพราะรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
               2.2. เด็กที่มีปัญหาก็มักจะคบคนที่มีปัญหาคล้ายๆกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการ บางรายชวนกันหนีเรียน เล่นเกม หรือทำผิดกฎหมาย



                 ปัญหาที่เกิดขึ้น
               1. วัยรุ่นชอบขโมยของ
               2. วัยรุ่นชอบโกหก
               3. วัยรุ่นชอบน้อยใจ
               4. วัยรุ่นอารมณ์รุนแรง
               5. วัยรุ่นทะเลาะวิวาทกัน
                วิธีการแก้ปัญหา
              1. ผู้ปกครองต้องให้ความอบอุ่นและคำปรึกษากับลูก
              2. วัยรุ่นต้องรู้จักการเลือกคบเพื่อน
              3. วัยรุ่นต้องรู้จักการยับยั้งอารมณ์ที่รุนแรง
              4. ช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเพื่อนมีปัญหา
              5. ปรับตัวเข้าหาผู้อื่น
              6. มีการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ร่วมกับผู้อื่น

     3. การมีเพศสัมพันธ์



               1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกาย มีผลกระตุ้นให้มีความสนใจกับเพศตรงข้าม รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติ ที่ทำให้ใคร่รู้ ใคร่ลอง ในเรื่องเพศ จนทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั่งใจขึ้น
               2. เริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตัวที่เปิดเผยมากเสื้อที่เปิดให้เห็นเนินอกมากเกินไป เสื้อที่เปิดสะดือ กางเกงที่รัดมากเกินไป เน้นส่วนสัดชัดเจนเกินไป
               3. วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่มีแฟนหรือคนรักหากไม่รู้จักการปฏิเสธเมื่อถูกขอ มีค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ คือเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ และการมีเพศสัมพันธ์กันตามกระแสวันสำคัญ
               4. การอยู่หอพัก อยู่ห่างจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การเที่ยวในสถานเริงรมย์ การเที่ยวงานปาร์ตี้ การเที่ยวต่างจังหวัด มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดจนทำให้ขาดสติ
               5. การอยู่ด้วยกันสองต่อสองระหว่างชายหญิงในที่ลับตาคน และในบรรยากาศที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้
               6. ปัญหาการขาดการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง
               7. เรื่องเพศได้ถูกนำเสนอออกมาทางสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื่อลามกที่มีอยู่เกลื่อนหาซื้อได้ง่าย ทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น
               8. สื่อต่าง ๆ การได้รับสื่อที่ยั่วยุ ส่งเสริมการมีพฤติกรรมทางเพศ เรื่องเพศได้ถูกนำเสนอออกมาทางสื่อ   ต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื่อลามกที่มีอยู่เกลื่อนหาซื้อได้ง่าย ทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น
               9. การเลียนแบบพฤติกรรมตามกระแสตะวันตก อาทิ การจับคู่อยู่กิน การทำสถิตินอนกับผู้ชาย การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน
             10. ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดได้
             11. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพังในที่ลับตาคน
             12. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดทุกชนิด
             13. วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อย และมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุ
             14. วัยรุ่นชายหญิงควรวางตัวต่อกันอย่างสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ หรือวางตัวสนิทสนมใกล้ชิดเกินไป
             15. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในสถานการณ์ที่เหมาะสม (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ใช้เป็นไม้ตายสุดท้าย ควรทำในที่ลับ และอย่าพร่ำเพรื่อจนเกินไป)

             ก่อให้เกิดโทษดังนี้
             1. การท้องก่อนวัยอันควร
             2. การติดโรคร้ายแรง
             3. ถูกสังคมกีดกัน ไม่ยอมรับ
             4. เป็นโรคซึมเศร้า

การท้องก่อนวัยอันควรเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

     4. การใช้สารเสพติด

               วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะก้าวผ่านจากวัยเด็กไปสู่ผู้ใหญ่ต่อไป ทำให้บางครั้งความคิดเห็นที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นเองแตกต่างออกไปจากผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบแล้ว ในขณะเดียวกันวัยรุ่นก็ไม่ใช่เด็กอีกต่อไป สังคมลอบข้างล้วนแปรเปลี่ยนไป สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องแข่งขันกันทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมและใกล้ชิดบุตรหลาน จนบางครั้งวัยรุ่นเกิดความรู้สึกสับสน ด้วยวัยที่ด้อยคุณวุฒิและอ่อนประสบการณ์ทำให้หาทางออกด้วยวิธีการที่ผิดในบางครั้ง
              สาเหตุใหญ่ของการเริ่มเข้าไปใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นยังเป็นเรื่องของความ ”อยากลอง” ความเป็นวัยรุ่นของเขาทำให้เขาอยากลองในสิ่งแปลกใหม่ ร่วมกับอีกปัญหาหนึ่งคือการ “ตามเพื่อน” ความจริงแล้วเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่น ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ที่จะสนใจเพื่อน อยากจะลอง อยากจะเป็นอย่างคนนั้นคนนี้ หรืออยากจะทำอย่างที่เพื่อนทำ จนกระทั่งกลายมาเป็นแฟชั่น ปัจจุบันมีเด็กบางคนหันเข้าไปหายาเสพติด เพียงเพราะรู้สึกว่า ใครๆ เขาก็ทำกัน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะแปลกอะไร ถ้าถามว่ารู้โทษของยาเสพติดไหม เด็กๆก็รู้ แต่เพียงเพราะอยากที่จะตามเพื่อนๆไป ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดกลายไปเป็นเหยื่อของสารเสพติด


ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images
การลองสารเสพติดตามเพื่อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นติดยาเสพติด
               อีกสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สังคมในปัจจุบันคือสังคมที่มาจากการเติบโตของค่านิยมแบบตะวันตก ทำให้วัยรุ่นมีแนวคิดนิยมวัตถุมากขึ้น ทำให้เกิดการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ความต้องการเป็นที่สนใจของเพศตรงกันข้าม ความผิดหวังในชีวิตเกี่ยวกับเรื่องการเรียน และการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความเครียดเกี่ยวกับปัญหาภายในครอบครัว ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้วัยรุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ยาเสพติดมีผลกระทบต่อตัวเด็กในหลายด้าน
               ผลกระทบแรกที่เราอาจจะสังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือผลการเรียน ยาเสพติดเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ฉะนั้นความสามารถในการเรียน ความตั้งใจ สมาธิในการเรียนของเขาจะลดลง ผลการเรียนก็เริ่มตกลง เด็กจะเริ่มมีปัญหาในการฝ่าฝืนกฎระเบียบ เพราะอยากจะใช้ยา บางทีอาจเห็นเด็กอยากโดดเรียน ออกจากโรงเรียนก่อนเวลาโรงเรียนเลิก เพราะว่าอยากจะไปใช้ยาเสพติด หรืออาจพบมีปัญหาเที่ยวกลางคืนมากขึ้น
               ผลกระทบต่อไป คือ ผลกระทบต่อร่างกาย ตัวยาเสพติดเองมีฤทธิ์โดยตรงต่อการทำงานของสมองของเราหรือมีฤทธิ์โดยตรงต่อทางร่างกาย การที่เราไม่หลับไม่นอนเอาแต่สนุกสนานนั้น ร่างกายเราสู้ไม่ไหว ก็จะทรุดโทรมลง เหนื่อย อ่อนเพลีย รู้สึกอยากจะนอนมากขึ้น เด็กอาจจะง่วงเหงาหาวนอนมากขึ้นในชั้นเรียน

               ภาวะทางจิตใจเองก็มีผลให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล เกิดความรู้สึกก้าวร้าวมากขึ้น เพราะเมื่อมีความต้องการใช้ยา เด็กก็จะกระวนกระวาย เวลาใครเข้ามาขัดขวาง เด็กก็จะรู้สึกหงุดหงิด อาจจะทำอะไรลงไปที่รุนแรงมากขึ้น ที่สำคัญคือในบางรายอาจเกิดอาการทางจิตขึ้นอย่างที่เราเห็นข่าวกัน โดยยาบ้าอาจทำให้เกิดอาการหลอนทางประสาท ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดระแวงว่าจะมีคนทำร้าย ดังนั้นเขาอาจทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขึ้น เนื่องจากอาการทางจิตของเขา เช่น ใช้มีดจับคนเข้ามาเป็นตัวประกัน หรือกังวลว่าเขาจะทำร้ายตัวเอง ก็จะแสดงอาการก้าวร้าวต่อคนอื่นได้


ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/nosmoke.jpg
ส่วนหนึ่งของโทษที่เกิดจากการสูบบุหรี่

               ทำให้ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายฝ่ายให้ความสนใจแก้ปัญหาวัยรุ่นกับยาเสพติดมากขึ้น เพราะนอกจากยาเสพติดจะเป็นตัวบ่อนทำลายอนาคตของชาติและความมั่นคงของชาติ แล้วยังปัจจัยต้นๆที่นำไปสู่การเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่ออีกหลายชนิด ซึ่งเป็นการทำลายอัตราแรงงานของวัยทำงานของชาติอีกด้วย
         การแก้ไขปัญหาได้เริ่มจากการรนณรงค์ให้ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสังคมที่ใกล้ชิดกับวัยรุ่นมากที่สุดหันมาให้เวลากับบุตรหลานและร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกัน สังคมโรงเรียนและสถานศึกษาที่ต้องมีการติดตามสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีการจัดตั้งคลินิกนิรนามเพื่อให้คำปรึกษากับผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการจะเลิก รนณรงค์ให้สังคมเห็นว่าผู้ติดยาเสพติคือผู้ป่วยที่ต้องการกลับเข้ามาอยู่ในสังคมโดยได้รับการยอมรับจากสังคมทุกระดับ


การรณรงค์การลดใช้ยาเสพติดของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

               นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้วยังมีความพยายามป้องกัน เพื่อไม่ให้วัยรุ่นเข้าไปยุ่งกับยาเสพติดอีกด้วย เช่นมีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตวัยรุ่น การรนณรงค์ให้วัยรุ่นคลายเครียดด้วยการใช้กีฬาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด มีการให้ความสนใจการแสดงความคิดเห็นของวัยรุ่นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้วัยรุ่นได้เกิดมีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง

     5. การเรียน

               ปัญหาการเรียนในวัยรุ่นมีหลากหลายปัญหาปัญหาหลัก ๆ คือ
               1. ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของการเรียน โดยยังมีช่องว่างระหว่างชนชั้นและพื้นที่ในการศึกษาอยู่ทำให้การเรียนนั้นไม่เท่าเทียมกันโดยบางพื้นที่อาจมีการขาดบุคลากรทางการศึกษา


               2. ปัญหาการปลูกจิตสำนึกของวัยรุ่นที่มีต่อการเรียน โดยวัยรุ่นที่เป็นนักเรียนบางกลุ่มไม่ได้ถูกปลูกฝังจิตสำนึกในการมุ่งมั่นที่จะเรียน


               3. ปัญหาด้านการเรียนแล้วไม่สามารถนำไปใช้ในสายอาชีพที่ต้องการได้ และไม่ค่อยรู้ว่าตนเองเหมาะสมที่จะเรียนหรือประกอบอาชีพอะไรในอนาคต
               วิธีแก้
              1. ผู้ใหญ่ในสังคมควรจะเล็งเห็นถึงปัญหานี้รวมถึงรัฐบาลควรช่วยกันแก้ไขให้มีระดับความเท่าเทียมกันในด้านการเรียน ไม่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฐานะ พื้นที่ สังคม
              2. ควรปลูกฝังจิตสำนึกใฝ่รู้ใฝ่เรียนจองวัยรุ่นตั้งแต่เด็กๆโดยเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวโดยฝึกให้เด็กมีการอยากเรียนรู้และอยากคิดเช่นนำเด็กๆไปศึกษาเรียนรู้และค้นหาธรรมชาติที่แท้จริงผสมกับการเรียนในห้องเรียน
              3. ควรจัดระเบียบการเรียนรู้มีการแนะแนวการเรียนที่ชัดเจนจัด เนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม และบอกถึงแนวทางการประกอบอาชีพหรือนำวัยรุ่นไปดูงานจริงศึกษาอาชีพที่ตนสนใจ


มหาวิทยาลัยต่างได้แนะแนวคณะแต่ละคณะให้นักเรียนที่สนใจ

จัดทำโดย

1. นางสาวจันทิมา หิ่งห้อย         เลขที่ 1
2. นางสาวนันท์นภัส วีระกุล       เลขที่ 5
3. นายณัชพล ศรีสังข์                เลขที่ 11
4. นายปราณนต์ แววรัตน์           เลขที่ 15
5. นายพัสกร จันทรวงทอง         เลขที่ 19
6. นายภาสกร ส่งศรีบุญสิทธิ์      เลขที่ 23
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

แหล่งอ้างอิง

ครูเพ็ญ. (2555). การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร. แหล่งที่มา : https://krupenka.wordpress.com/2013/01/28/การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวั/. วันที่สืบค้น 13 มิถุนายน 2558.
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นปห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). ส่วนที่ 7 พฤติกรรมที่พบบ่อยในวัยรุ่น. แหล่งที่มา : http://www.rcpsycht.org/cap/book04_20.php. วันที่สืบค้น 15 มิถุนายน 2558.
ปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทย. (ม.ป.ป). แหล่งที่มา : http://www.pccl.ac.th/external_newsblog.php? links=486. วันที่สืบค้น 13 มิถุนายน 2558.
ยาเสพติดกับวัยรุ่น. (2550). แหล่งที่มา : https://shimmerysunlight.wordpress.com/2007/03/07/ยาเสพติดกับวัยรุ่น/. วันที่สืบค้น 14 มิถุนายน 2558.
วัยรุ่นกับสารเสพติด. (2552). แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/267806. วันที่สืบค้น 14 มิถุนายน 2558.