วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนและสังคม


ที่มา : http://trangis.com/kruuza/6/473_d2.jpg


1.   ความหมายและความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
          กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน หมายถึง ขั้นตอนหรือลำดับการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริม ความปลอดภัยในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้ใช้กรอบแนวความคิดของ โครงการที่เรียกว่า “ชุมชนปลอดภัย (Safety community)” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ ใช้ต่อสู้กับปัญหาอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีหลักการดำเนินงานที่ มุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชุมชน เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและลดพฤติกรรมเสี่ยงระดับบุคคล

ที่มา : http://www.cwu.edu/~pacinij/communitysafetypic.jpg

          เนื่องจากปัญหาความไม่ปลอดภัย เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้บุคคลเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของเยาวชน หรือปัญหาอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมประมาท ขาดความระมัดระวัง การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนจึงมีความสำคัญการลดปัญหาความไม่ปลอดภัย ต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่สงบสุข ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างเสริมความปลอดภัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการดำเนิน งานที่เป็นลำดับขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นพื้นฐาน ย่อมทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการจัดการเรื่องความปลอดภัยในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นทุกชุมชนควรสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนของตนเองให้เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนให้มีสุขภาพดี ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยใช้กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันของชุมชนเป็นพื้นฐาน

2.   หลักการดำเนินการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
      2.1.   ชุมชนต้องดำเนินการป้องกันภัย อันตรายต่างๆ ที่เกิดจากความสนใจหรือปัญหาของชุมชน เช่น การป้องกันภัยจากสารเสพติด การป้องกันภัยจากอัคคีภัย การป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายโดยอาจมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันต่างๆ ในระดับชุมชน เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
      2.2.  ชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัย และปัญหาการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
      2.3.  ชุมชนต้องมีระบบการเฝ้าระวังภัยอันตรายของชุมชน ที่จะนำไปสู่การประเมินขนาดของปัญหาสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสี่ยงของความไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
      2.4.  ชุมชนต้องมีระบบการสำรวจความ ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเกิดอันตราย เพื่อที่จะดำเนินการวางแผนแก้ไขต่อไป

ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTtoswHLadIfsrXFhbVFs7qsTpQO1k2eUj-fJuuv8nDCTuJzmtixg

      2.5.  ชุมชนต้องมีการต่อต้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้แก่ ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยง และสิ่งแวดล้อมอันตราย
      2.6.  ชุมชนต้องมีระบบการฝึกอบรมการสอน หรือเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน ในเรื่องของการสร้างเสริมความปลอดภัย และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
      2.7.  ชุมชนต้องมีระบบการเตรียมความพร้อม ในการรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน เช่น การเกิดอัคคีภัย การเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีการจัดระบบการอพยพผู้คนและแจ้งข่าวสาร มีการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีประสิทธิภาพ
      2.8.  ชุมชนต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานที่จัดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง โดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม
      2.9.  ชุมชนต้องมีการรวบรวมความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง เผยแพร่สู่สังคมอื่นๆ เพื่อขยายผลในการสร้างเสริมความปลอดภัยในระดับประเทศชาติต่อไป

3.   การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
          การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมสร้าง เสริมความปลอดภัยในชุมชนที่ดำเนินการไปแล้วนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด และมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อจะได้นำไปพัฒนาการจัดกิจกรรม สร้างเสริมความปลอดภัยอื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นของชุมชนต่อไป ซึ่งกระบวนการประเมินผลจะต้องประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำตรงกับความเป็นจริง โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล สามารถกระทำได้ทั้งในระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดโครงการ ดังนี้
      3.1.  การประเมินการสร้างเสริมความปลอดภัยก่อนการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินในช่วงระยะแรกของโครงการ เช่น การสำรวจความต้องการด้านความปลอดภัยของประชาชนการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้ กำลังคนและเทคนิควิธี
      3.2.  การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างที่มีการดำเนินโครงการไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าโครงการได้ดำเนินไปตามกระบวนการขั้นตอนที่ว่างแผนไว้หรือไม่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการได้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพจนสิ้นสุดโครงการ

      3.3.  การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยหลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลที่กระทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการแล้ว โดยมีการนำผลการศึกษาของการประเมินผลในขั้นต่างๆ ตั้งแต่การประเมินก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และหลักการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์และแปลผลร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการจัดทำโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นๆ บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้หรือไม่



4.  คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน
          การสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ คือ มีการวางแผนการปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล ซึ่งจะให้คุณค่าต่อตนเองและต่อคนในชุมชน ดังนี้
      4.1.  ส่งเสริมสุขภาพกาย เมื่อมนุษย์มีความปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ เพราะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี เมื่อมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ชุมชนก็จะเข้มแข็ง เพราะคนในชุมชนมีสุขภาพดี


ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/data/content/28514/cms/thaihealth_c_ciknqrsuwx46.jpg

      4.2.  ส่งเสริมสุขภาพจิต เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย ไม่มีโจรผู้ร้าย คนขายยาบ้า หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก็มีความสุข นั่นคือ มีสุขภาพจิตที่ดี


ที่มา : http://2.bp.blogspot.com/-OzpqDi-G7HY/UP09XKO8KDI/AAAAAAAAALA/aHjDOuHj2eI/s400/w_22.jpg

      4.3.  ส่งเสริมเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีการเจ็บป่วย ไม่มีโจรผู้ร้าย ก็จะทำให้ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล และไม่ถูกโจรผู้ร้ายโจรกรรมหรือปล้น เงินทองไม่รั่วไหล ก็จะทำให้เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวดี และมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต
      4.4.  สังคมเข้มแข็ง เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย คนในชุมชนมีสุขภาพดี ย่อมทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง นั่นคือ สังคมก็เข้มแข็งไปด้วย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัยสำหรับทุกคน

จัดทำโดย
1. นางสาวจันทิมา หิ่งห้อย         เลขที่ 1
2. นางสาวนันท์นภัส วีระกุล       เลขที่ 5
3. นายณัชพล ศรีสังข์               เลขที่ 11
4. นายปราณนต์ แววรัตน์          เลขที่ 15
5. นายพัสกร จันทรวงทอง         เลขที่ 19
6. นายภาสกร ส่งศรีบุญสิทธิ์       เลขที่ 23
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

แหล่งอ้างอิง
กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน(2554). แหล่งที่มา : http://panidapang
             prakhon1.blogspot.com/2011/11/blog-post.html. วันที่สืบค้น 25
             พฤศจิกายน 2558.
บทที่ 6 การสร้างเสริมความปลอดภัยให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน. (ม.ป.) แหล่งที่มา
            : http://trangis.com/kruuza/6_1.html. วันที่สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2558.
วริทธิ์ อนันตสิทธิพงศ์. (ม.ป.) หน่วยที่ 2 การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน. แหล่งที่มา
            : https://sites.google.com/a/ckw.ac.th/kurwarit/hnwy-thi-2. วันที่สืบค้น 
            25 พฤศจิกายน 2558.
สุพจน์ อนุตรพงค์. (ม.ป.) 6.2 กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน. แหล่งที่มา
            : http://www.vimanloy.com/term2/lesson6_2.php. วันที่สืบค้น 25
            พฤศจิกายน 2558.